top of page

ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน... บอกโรคอะไร | Pealicious wellness



"ตื่นมาฉี่ตอนกลางคืนบ่อยๆจะเป็นโรคอะไรมั้ย"


"ฉี่แล้วเจ็บ อันตรายรึเปล่า"


ฉี่ หรือปัสสาวะ เป็นของเสียในรูปแบบของเหลว ที่ร่างกายขับออกผ่านทางไตด้วยกระบวนการกรองถ้าเราสังเกตดีดี … รู้หรือไม่ ฉี่ บอกโรคได้…


ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) หมายถึงการตื่นในตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป หรือการที่กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถรองรับน้ำปัสสาวะได้นานและมากเพียงพอ หรืออาจะเกิดจากปัจจัยอื่นหลายปัจจัยที่ทำให้ไปรบกวนการนอนหลับและส่งผลให้ไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างต่อเนื่อง อาการนี้มักพบในผู้สูงเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยเช่นเดียวกัน

สาเหตุของอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

ปัจจัยที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนนั้น อาจมีตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยาต่างๆ รวมไปถึงอาการเจ็บป่วยหรือมีภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป กระเพาะปัสสาวะหย่อน ต่อมลูกหมากโตหรือติดเชื้อ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต รวมเป็น 1 ในสัญญาณเตือน “ภาวะก่อนเบาหวาน” อีกด้วย


หนึ่งในอาการของผู้มีภาวะก่อนเบาหวาน

ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก หรือต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนหลายครั้ง


ทำไมผู้เป็นเบาหวานและผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานถึงมีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน


เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) จะเป็นตัวนำน้ำตาลไปยังเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่ในร่างกายผู้ที่เป็นเบาหวานจะพบว่าตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินหรือหลั่งออกมาในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อร่างกาย หรือฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้ปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ และไตที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดก็ไม่สามารถกรองน้ำตาลกลับเข้าสู่เลือดได้ น้ำตาลและน้ำบางส่วนจึงถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะในปริมาณมากกว่าปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยยิ่งมีระดับน้ำตาลสูงมากเท่าใดก็ยิ่งปัสสาวะบ่อยและมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนหลายครั้ง



การป้องกันอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน


อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนนั้นมีหลายปัจจัย ซึ่งบางสาเหตุอาจป้องกันได้ยาก แต่บางสาเหตุก็อาจป้องกันได้ ดังนี้

  • ก่อนเข้านอนควรลดการดื่มน้ำประมาณ 2-4 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ปวดปัสสาวะในตอนกลางคืน

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง เช่น ช็อกโกแลต อาหารรสเผ็ด อาหารที่เป็นกรด หรือสารให้ความหวาน เป็นต้น

  • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพราะอาจทำให้ควบคุมการปัสสาวะได้ดียิ่งขึ้น

  • หมั่นสังเกตอาการที่เกิดขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม หรืออาจจดบันทึกเกี่ยวกับการดื่มน้ำในแต่ละวันเอาไว้ด้วย

การรักษาและและการดูแลตัวเองสำหรับภาวะก่อนเบาหวานทำได้อย่างไร?


การปรับเปลี่ยน lifestyle และพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลดการรับประทานอาหารจำพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล หยุดสูบบุหรี่ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะก่อนเบาหวานได้ค่ะ หรือสำหรับใครที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะก่อนเบาหวานแล้ว การปรับเปลี่ยนอาหาร lifestyle และพฤติกรรม ยังจำเป็นและเป็นสิ่งที่ควรกระทำต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานต่อไป


สำหรับใครมองหาโปรตีนเสริมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทานควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อนักโภชนากรของ Pealicious ได้ตลอดนะคะ


ปรึกษา nutritionist team ได้ที่ Line @pealicious ⁠หรือ


ข้อมูลโปรตีนพืชออแกนิคไร้น้ำตาลและคอเรสเตอรอล และรายละเอียดเพิ่มเติม https://shop.line.me/@pealicious


Comments


Recent Posts
Archive
bottom of page