Weight lifting improves mental health : เมื่อการยกน้ำหนักทำให้คุณหนักที่กาย แต่เบาที่ใจ
เล่นเวท หนักที่กาย เบาที่ใจ :
Strength training and mentality หากให้พูดคุยเรื่องการยกเวท แน่นอนว่าสาวๆหลายคนอาจจะเริ่มส่ายหน้า เพราะกลัวกล้ามใหญ่ (มันใหญ่กันง่ายๆก็ดีสิ)
แต่อยากจะบอกว่าจริงๆแล้วยกเวท อาจจะเป็นหนึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้ใจเราใหญ่ ใจใหญ่ในที่นี้หมายถึงมี mentality ที่แข็งแรง
ถ้าถามว่าทำไม่จึงเป็นเช่นนั้น ก็ต้องพาไปดูถึงประโยชน์ของ weight lifting ที่มีต่อ mental health หรือสุขภาพจิต
ข้อแรกนั้นก็คือ การช่วยลด anxiety และ depression
การออกกำลังกายที่เป็นแบบ strength training เช่นการยกเวท, squats, deadlift, bench press, รวมไปถึง Olympic movement ต่างๆ มีส่วนช่วยในการลด anxiety และ depression จากการหลั่งฮอร์โมนตัวหนึ่ง ที่ชื่อว่า Endorphins ซึ่งเราจะรู้จักกันในชื่อว่า "ฮอร์โมนความสุข" และยังทำให้ระบบสื่อประสาททำงานได้ดีขึ้น
ส่งเสริมการนอน
การนอนมีผลโดยตรงต่อสุขภาพจิต เพราะการนอนจะเกี่ยวข้องกับการ regulate ฮอร์โมนที่มี่ชื่อว่า Cortisol ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด ในเคสของคนที่ยกเวท หรือออกกำลังกายแบบ Strength training ก็จะช่วยให้มี่สุขภาพการนอนที่ดีขึ้น ร่างกายสามารถ regulate cortisol ได้อย่างปกติ
ส่งเสริม self-esteem
เพราะการออกำลังกายอย่างต่อเนื่องจะ ช่วยเพิ่ม self-esteem หรือการเห็นคุณค่าในตัวเอง และของแถมที่สำคัญคือรูปร่างที่ดีขึ้น ก็ยิ่งเสริมความมั่นใจและภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น
Immediate and long-term mood improvement :
เราอาจจะเคยพบคนที่ก่อนเข้าคลาสออกกำลังกายมาด้วยอารมณ์เสียแบบสุดๆ ไม่อยากพูดคุยกับมนุษย์คนอื่นๆ แต่หลังจากออกกำลังกายเสร็จ กลับกลายเป็นคนล่ะคน
เพราะยกเวท หรือ strength training ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งการมีอารมณ์อยู่ในแดนบวกบ่อยๆ ก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงที่เจอกับสภาวะ depression และ anxiety
กล่าวโดยสรุป เราอาจจะมองการออกกำลังกายด้วยการทำ strength training แบบมุมมองเดียวไม่ได้อีกต่อไป เพราะนอกจากประโยชน์ที่มีต่อร่างกายแล้ว strength training ยังทำให้ทำจิตใจเราแข็งแรงขึ้นแบบไม่รู้ตัว
ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ "อารมณ์ดี" กลายเป็นของมีค่าที่หาซื้อไม่ได้
แล้วคุณหล่ะมอง weight lifting หรือ strength training ว่าให้อะไรสำหรับคุณ
.
.
References:
Journal of Clinical Psychiatry: The role of endorphins in the antidepressant effects of exercise Journal of Strength and Conditioning Research: Resistance exercise improves sleep quality Journal of Sport and Exercise Psychology: Exercise and self-esteem
Frontiers in Psychology: Exercise promotes neuroplasticity and cognitive function
Journal of Endocrinology and Metabolism: Exercise reduces cortisol levels
American Journal of Lifestyle Medicine: Exercise and mood improvements These studies underscore the significant impact that squats, as part of a regular exercise routine, can have on mental health by improving mood, reducing anxiety and depression, enhancing cognitive function, and promoting overall emotional well-being.
#Pealicious #Dreamvita #Exercise #Wellbeing #Weightlifting #mentalhealth #สุขภาพจิต #เวทเทรนนิ่ง
Comments