top of page

7 เหตุผลทำไม Pea protein ถึงเป็นโปรตีนทางเลือกแห่งอนาคต



ในปัจจุบันมีผู้คนมากมายที่เริ่มให้ความสนใจกับการทานอาหารแบบ plant-based มากขึ้น ด้วยเหตุผลหลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็น

  • อยากสุขภาพดีขึ้น

  • animal welfare (รักสัตว์)

  • ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็จะเห็นได้ว่า #meatlessmonday ที่เป็นหนึ่ง hashtag ในโลกออนไลน์ที่โปรโมทการงดการทานเนื้อสัตว์สักหนึ่งวันใน หนึ่งสัปดาห์ เมื่อ Demand เพิ่มสูงขึ้น ในฝั่ง Supply ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องยาวนานไม่ว่าจะเป็น การผลิตถั่วเหลือง ที่เติบโตกว่าปีล่ะ 10% มาตลอดหลายปี แต่ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจและเติบโตอย่างมาก จนถูกคาดการณ์ว่ามูลค่าทางตลาดจะแตะ $360 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2022 นั่นก็คือ Pea Protein นั่นเอง


แต่เอ๊ะทำไมอยู่ๆ Pea proteinที่ก็มีมาตั้งนานเพิ่งมาถูกให้ความสนใจมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง? และนี่คือเหตุผลบางส่วนที่ทำให้ Pea Protein หรือ ถั่วลันเตาสีทอง ได้อยู่ใต้ spotlight ฉายแววสดใสในฐานะอาหารทางเลือก




1. Pea protein หรือ Split pea, Yellow pea เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูง และ ไม่มีโคเลสเตอรอล




2. Pea protein ย่อยง่ายกว่าโปรตีนในกลุ่ม Dairy และทำให้อิ่มนาน จึงถูกเลือกใช้มากจาก Products กลุ่ม weightloss


3. นอกจากย่อยง่ายแล้ว ยังสามารถ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเสถียร จึงเหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และกลุ่มผู้ที่ใช้ keto diet approach ด้วย




4. เทียบกับอุตสาหกรรมนมและเนื้อสัตว์แล้ว Pea protein หรือถั่วลันเตาสีทอง นี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยเทียบได้จาก carbon foot print ซึ่งของ Pea มีค่าเท่ากับ 0.49 kg CO2eq/kg ในทางกลับกับ Cow milk นั้น carbon foot print อยู่ที่ 1.00 Co2eq/1L กล่าวคือ มากกว่าหนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว


5. ปลอด Hexane ในขั้นตอนการผลิต

การผลิต Pea protein isolate จากโรงงานที่ได้มาตรฐานจะไม่มีการนำไปแช่ใน Hexane เหมือนกับการผลิต Soy protein ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการแช่ Hexane ก็มีส่วนทำให้รสชาติของ soy protein ค่อนข้างทานง่ายกว่า Pea protein แต่ก็ต้องแลกมา กับการต้องทานของที่อาจมีการปนเปื้อนเคมี


6. ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี

Pea protein คล้ายกับพืช Legume ที่มีการดึงไนโตรเจนในอากาศมาเลี้ยงตัวเองและยังดึงไนโตรเจนมาสู่ดิน ทำให้ในการเพาะปลูกไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม แถมดินบริเวณที่ปลูกก็ยังอุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วย


7. ใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าพืช Soy และ Almond

ในการเพาะปลูก Pea protein น้ำถูกใช้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Soy และ Almond ยกตัวอย่างเช่น กว่าจะได้นมอัลมอนด์หนึ่งขวดต้องใช้น้ำถึง 20 gallonใน Processของการเพาะปลูก แต่นม Pea ใช้นำ้เพียงแค่ 1/2 Gallon


เท่ากับว่าถ้าเราหันมาบริโภค Pea protein กันมากขึ้น เราก็สามารถเป็น Hero ช่วยโลก

"ให้โลกเราสวย พวกเรามาช่วยกัน" แต่ก็ต้องเลือก Pea protein ที่มีคุณภาพสูง และผลิตจากแหล่งที่ปลอดเคมี และ Non-Gmo เพื่อที่เราจะได้ช่วยโลกและ ดูแลสุขภาพไปพร้อมๆกัน Protein จาก Pealicious มีแหล่งกำเนิดในประเทศ Belgium ที่มีการปลูกและควบคุมการผลิตภายใต้กฎหมายของ EU และรับรองได้ว่าโปรตีนของเราไม่ผ่านใช้ Hexane ในการสกัด แล้วรสชาติก็ยังดื่มง่ายมากๆ จนเรากล้าพูดได้อย่างเต็มปากกว่า It's the tastiest pea protein in the market


 

references

Ritchie, H. (2020, Febuary 4). Less meat is nearly always better than sustainable meat, to reduce your carbon footprint. Retrieved from https://ourworldindata.org/less-meat-or-sustainable-meat

Komentar


Recent Posts
Archive
bottom of page