A Brief history of diet มนุษย์ลดน้ำหนักเพื่อตัวเอง หรือสังคมบังคับให้มนุษย์ลดน้ำหนัก?
ตั้งแต่เมื่อไหร่ ที่มนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับ “Ideal body type” หรือเรือนร่างในอุดมคติ จนทำให้มนุษย์เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียว ที่พากันลดน้ำหนักอย่างเป็นหมู่คณะ?
ในขณะที่เทรนด์การทานหมาล่า ชาบู หมูกะทะ รวมไปถึงชาเย็นถูกจัดว่าเป็นหนึ่งใน Daily routine คือกินทุกวันเป็นเรื่องปกติสุข แต่ก็มีอีกเทรนด์หนึ่งซึ่งฮิต ไม่พร้อมกันในแต่ละบุคคลและไม่เคยจางหายไปไหน……………….นั่นก็คือ การลดน้ำหนัก หรือ ที่คนจะนิยมเรียกสั้นๆว่า Diet
"ไดเอท" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Diaita แปลว่า ‘Way of life’ or ‘life style’
แม้ว่าในบทความนี้ เราไม่อาจนำท่านผู้อ่านย้อนกลับไปจนถึงยุคก่อนที่จะมีการจดบันทึกได้ เพราะเราไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกได้ว่า หนุ่มสาวชาวยุคหินที่ หมดเวลาไปกับการล่าสัตว์ และหาอาหารนั้นจะรู้จักกับคำว่า “อ้วน” และเริ่มรู้สึกระส่ำระสายกับหุ่นของตนเองที่เปลี่ยนแปลงไป แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งที่เริ่มพูดถึงเรื่อง “อ้วน” อย่างชัดเจน นั่นก็คือ ยุคกรีก ในบทความนี้จะเลือกกรีก เป็นหมุดหมายแรกที่เราจะพาย้อนไปดูวิธีคิด ของมนุษย์ในยุคนั้นที่มีต่อ เรือนร่างในอุดมคติ และความอ้วน โดยที่เราจะมองแยกเป็นสอง paradigm นั่นก็คือ
Medical Paradigm(มุมมองทางการแพทย์)
Sociocultural paradigm (มุมมองทางสังคมและวัฒนธรรม)
กรีกจุดอุบัติการลดน้ำหนักเพื่อเรือนร่างในอุดมคติ?
Hippocrates เป็น ปราชญ์ ที่เกิดในช่วง 430 B.C. หรือ 2453 ปีที่แล้ว และมี Quote ที่สำคัญที่สำนักหนังสือลดน้ำหนักนิยมนำไปใช้ (แบบไม่ถูกต้องนัก) นั่นก็คือ “Corpulence is not only a disease itself, but the harbinger of others” ความอ้วนไม่ใช่โรค แต่เป็นพื้นที่อาศัยและซ่อนเร้นสำหรับโรค”
ถ้าหากมองผ่านเลนส์เดียวกับที่ Hippocrates มองก็คงจะไปตกอยู่ในมุมมองทางการแพทย์ ซึ่งเชื่อว่าความอ้วนนั้น เป็นสัญญาณของโรค ซึ่ง Hippocrates เองก็เห็นเช่นนั้นมาก่อนการแพทย์ในยุคปัจจุบัน และตัวของเขาเองก็มี diet approach ที่ใกล้เคียงกับ plant-based diet ในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น Diet ของ Hippocrates ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การมีเรือนร่างในอุดมคติแต่อย่างใด แต่ล้วนเพื่อเหตุผลทางสุขภาพ
แล้วถ้าเราลองเปลี่ยนมุมมอง และมองกลับไปที่อารยธรรมกรีกด้วยเลนส์ของ ‘มุมมองทางสังคมและวัฒนธรรม’
ย้ายจากจานอาหารของนักปรัชญาโบราณ ไปสู่ Gymanasium หรือภาษากรีกแปลว่า School for naked exercise. ซึ่งมาจากรากศัพท์คำว่า gymnos ซึ่งแปลว่า nudity นั่นเอง
ในสมัยกรีกโบราณนั้น การมีเรือนร่างที่แข็งแรงสมบูรณ์ถูกยกย่องไม่ต่างอะไรเลยกับการได้รับการศึกษาขั้นสูงในปัจจุบัน ซึ่งชายหนุ่มจากบ้านฐานะดีที่ไม่ต้องอาบเหงื่อทำงาน ก็จะหมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับอาบเหงื่อออกกำลังกายใน Gymnasium ดังนั้นการมีเรือนร่างสมบูรณ์แข็งแรง ก็เท่ากับเป็นการบอกสถานะทางสังคมได้อย่างแนบเนียน
แต่ในฝั่งของผู้หญิงนั้น ไม่มีสิทธิในการเข้าใช้ gymnasium แต่อย่างใด แล้วรูปร่างแบบไหนล่ะที่เขาถือว่าเป็นรูปร่างในอุมดมคติ? ถ้าเทียบในยุคปัจจุบันเวลาที่เราหารูปร่างที่คนในสังคมพากันเหมารวมว่าดี ก็คงหนีไม่พ้นการยลโฉมและเรือนร่างของ IDOL ผ่านสื่อ social media
แต่ถ้าจะหา IDOL สาวในยุคกรีกจะหาได้จากไหน ก็คงต้องไปพินิจรูปปั้น ซึ่ง IDOL สาวกรีกจะเป็นใครไปไม่ได้เลยนอกจาก รูปปั้นที่มีชื่อเสียงอย่าง Aphrodite ที่มีรูปร่างกลมกลึง มีน้ำมีนวล มีก้นที่กลมสวยและอิ่ม กระดูกเชิงกรานกว้าง มีอกขนาดสวยงาม รูปร่างแบบ Aphrodite ทำให้เราเห็นหน้าที่บางอย่างของผู้หญิงที่สังคมมอบให้นั่นก็คือการเป็นหน่วย “เพิ่มผลผลิตประชากร” และรูปร่างที่ไม่ผอมบางนักก็ยังเป็นตัวบอกถึงสถานะทางบ้านที่มีกินแบบเหลือเฟือ
จริงอยู่ว่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีคนพยายามลดความอ้วนด้วยการมองที่ medical paradigm คือมองไปที่สุขภาพเป็นหลัก แต่ก็จะละเลยไม่ได้เลยว่าในทุกยุคทุกสมัย มีคนต้องปรับรูปร่างให้เข้ากับ ค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรม(sociocultural paradigm) ที่ตัวเองอาศัยอยู่เสมอมาเพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งและไม่แปลกแยก
ยิ่งโลกปัจจุบันที่เราอยู่มีค่านิยมใหม่ๆเกิดขึ้นมาเพื่อให้เราเข้าร่วมมากมายโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว อย่าปล่อยให้สังคมแฝงเข้ามาตัดสินเรือนร่างและเข้ามามีบทบาทในการที่เราจะเลือกมีเรือนร่างแบบใดแบบหนึ่ง จนลืมพื้นฐานสำคัญคือสุขภาพที่ดี เพราะความผอมนั้นอาจไม่ได้มากับสุขภาพที่ดี ความอ้วนก็เช่นกัน
และไม่ว่าเรือนร่างในอุดมคติของค่านิยมใหม่ๆ จะดำเนินไปลักษณะไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือเราไม่ควรละทิ้ง medical paradigm ไป อาจจะ cliche ไปหน่อยหากจะกล่าวว่า “Health is Wealth” ร่างกายที่แข็งแรงทำให้ชีวิตขณะอาศัยอยู่บนโลกน่าจดจำ เพราะทำให้คุณเดินทางได้สนุกขึ้น ทำกิจกรรมได้หลากหลายขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายขึ้น และเมื่อเราให้ความสนใจกับสุขภาพจนเป็นเรื่องปกติ เมื่อนั้นเราจะมี by product ที่ได้มาอย่างง่ายดายนั่นก็คือ รูปร่างที่ดูสุขภาพดี
รับเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพ โปรตีนพืช และตัวช่วยดีๆในการนอนหลับ สามารถทักมาปรึกษา Nutritionists เพื่อรับการออกแบบสุขภาพที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ Line OA : @pealicious or https://lin.ee/ileGPLS
---------------------------------------------------------------------------------------
ref:https://skyterrawellness.com/history-of-dieting/ Karasu SR. The Obesities: An Overview of Convergent and Divergent Paradigms. Am J Lifestyle Med. 2014 Jul 4;10(2):84-96. doi: 10.1177/1559827614537773. PMID: 30202260; PMCID: PMC6125090.
https://www.pbs.org/empires/thegreeks/background/35a_p1.html#:~:text=The gymnasia were the ancient,of each day exercising there.
Kommentare