top of page

Do and Don’t Foods for PCOS




เป็น PCOS แล้ว ต้องระวังเรื่องการกินยังไงบ้าง ?

อาหารบางอย่างแล้วช่วยให้อาการ PCOS ดีขึ้นและอาหารบางอย่างก็ทำให้อาการแย่ลง


วันนี้ Pealicious รวบรวมอาหารที่ควรและไม่ควรทานมาฝาก

ใครกลัวลืม ไม่อยากพลาดเซฟไว้ดูได้เลย



Do: กลุ่มอาหารที่ควรกิน


ใยอาหาร (fiber): อาหารที่มีใยอาหารสูง จะช่วยลดระดับอินซูลินและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี (ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่); ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงผักผลไม้ ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งจะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบในร่างกาย


โปรตีนที่มีไขมันต่ำ (lean protein): อาหารกลุ่มนี้จะช่วยให้อิ่มนาน ควบคุมน้ำหนักตัว และสามารถจัดการกับภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอาการหลักของชาว PCOS อีกทั้งยังป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง เช่น ไก่ ปลา กุ้ง เต้าหู้ และโปรตีนจากพืชอย่าง Pealicious ก็ทานได้สบาย


สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants): อาหารกลุ่มนี้จะช่วยลดการอักเสบในร่างกาย เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมไปถึงผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ผักชนิดต่างๆ ธัญพืชไม่ขัดสีชนิดต่างๆ และ แหล่งอาหารไขมันไม่อิ่มตัว



Don’t: กลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง


ข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสี (refined carbs): ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสิว ผิวหน้ามัน ขนดกบริเวณแขนขา ใบหน้า ร่องอกและหน้าท้องส่วนล่าง ควรหลีกเลี่ยง ข้าวขาว ขนมปังขาว พิซซ่า พาสต้า เป็นต้น


เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง (sugary beverages): ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวาน เพื่อควบคุมระดับอินซูลิน น้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัว


อาหารประเภทน้ำตาลที่ผ่านการแปรรูป (sugary, processed foods): อาหารประเภทนี้อาจมีสารเคมีหลายๆ ตัวที่อาจทำลายระบบจุลินทรีย์ในลำไส้ ควรหลีกเลี่ยงลูกอม ทอฟฟี่ ซีเรียล โยเกิร์ต คุ้กกี้ ไอศกรีมที่มีการเติมน้ำตาลมากๆ


ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ (saturated and trans fats): ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารผัดทอด เฟรนช์ฟรายส์ โดนัท พิซซ่า อาหารฟาสต์ฟู้ด เพื่อลดกระบวนการอักเสบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้


นมและผลิตภัณฑ์นม ในบางราย (dairy, in some cases): สำหรับอาหารกลุ่มนี้อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในราย ที่มีปัญหาเรื่องการย่อยนม หรือผู้ที่มีระบบจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล


แอลกอฮอล์ (alcohol): เนื่องจากมักพบอัตราการเกิดไขมันพอกตับสูงในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อช่วยลดกระบวนการอักเสบในร่างกายร่วมด้วย

.

นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยทำให้สภาวะดื้ออินซูลิน(Insulin Resistance) ดีขึ้นก็จะช่วยปรับระดับฮอร์โมน,อินซูลิน และระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้อีกด้วย

.

#pealicious #โปรตีนพืช #pcos #คุมน้ำหนัก #ปรับฮอร์โมน #ลดน้ำหนัก #ไขมันต่ำ


Comentários


Recent Posts
Archive
bottom of page