top of page

6 วิธีทาน plant-based จะทานถั่วยังไงไม่ให้ท้องอืด และ ตดปุ๋งๆ(Beating the bean bloat)




ในขณะที่กระแส Plant-based ได้ผันตัวกลายมาเป็น Lifestyle ของใครหลายๆคน วันนี้ Pealicious จึงหยิบเรื่องราวที่ได้ประสบกับตนเองและ จากที่มีการให้คำปรึกษากับ ลูกค้า เกือบ 80% ที่ได้ลองทาน Plant-based รวมไปถึง Vegan และแม้กระทั่ง Vegetarian ต่างก็พบกับปัญหาแรกคือ จะทานโปรตีนจากไหนให้เพียงพอ ซึ่งทางคำตอบนั้นก็คือ ทานพวก Legumes, nuts มากขึ้น เช่น Chickpeas, lentils, black beans 


แต่แล้วก็มีปัญหาตามมากวนใจอยู่ดี เมื่อการกินถั่วมากๆ นั้นทำให้ ท้องอืด และก็ตด กระหน่ำ 


อะไรคือสาเหตุที่ทำให้มีอาการท้องอืด และ ตด หลังจากทานถั่วไปในปริมาณหนึ่ง?


ถึงแม้ว่าถั่วน้อยๆ จะมีโปรตีนสูงแต่ ก็แถมมาด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Oligosaccharides โดยปกติแล้วร่างกายเราจะย่อยเจ้าตัว Oligosaccharides ไม่เก่งนัก เลยตั้งยืมมือก็พวกแบคทีเรียดีในท้องให้พวกเขาช่วยกิน Oligosaccharides หลายๆผลิตภัณฑ์จึงใช้ Oligosaccharides เป็น Prebiotics ที่ขายกันทั่วไปในท้องตลาด  กลับมาที่เรื่องของเราต่อ เวลาพวกแบคทีเรียย่อย Oligosaccharides ก็จะปล่อยแก็สออกมา แก็สเหล่านี้ถ้าไม่สามารถหาทางออกจากลำไส้ได้ ก็จะทำให้ท้องเราอืดนั่นเอง 


โดยสรุปสาเหตุที่ใครๆหลายๆคนรู้สึกท้องอืด เมื่อทานถั่วไปปริมาณพอสมควรก็เพราะว่า ถั่วอุดมไปด้วย Fiber ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยเองได้


แต่ก็อย่างเพิ่งถอดใจเลิกทานถั่วที่แสนจะอุดมไปด้วยประโยชน์นี้ไปก่อน เพราะเราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้



  1. นำถั่วไปแช่น้ำค้างคืน

น้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ Oligosaccharide ลดลงถึง 58% โดยที่ให้ล้างและทิ้งน้ำที่ใช้แช่ไปเลย แล้วสามารถนำไปต้ม เพื่อปรุงอาหารได้โดยลดความกังวลเรื่องท้องอืดไปได้

  1. กินในปริมาณที่น้อยๆก่อน

อาหารที่มีไฟเบอร์สูงนั้น จำเป็นที่จะค่อยๆเพิ่มปริมาณการทาน ไม่สามารถทานเยอะๆ หากไม่เคยทานในปริมาณมากมาก่อนเพราะ ร่างกายอาจไม่สามารถย่อยได้ และจะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกร่วมด้วย

  1. ดื่มน้ำให้มากๆ

ยิ่งทานอาหารไฟเบอร์สูง ปริมาณน้ำก็ยิ่งจำเป็นอย่างมาก ในการทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดี

  1. ถั่วกระป๋องยิ่งต้องล้าง

ถั่วกระป๋องก็เป็นทางเลือกที่สะดวก เพราะไม่ต้องแช่ข้ามคืนเอง แต่ถึงอย่างนั้นก็จำเป็นอย่างมากที่จะต้องล้างออกก่อนนำมาประกอบอาหาร เพราะในน้ำที่แช่ถั่วมาก็อาจเต็มไปด้วย oligosaccharides

  1. baking soda ช่วยได้

ใส่ baking soda ลงไปนิดหน่อย ขณะต้มก็ทำให้ลดปริมาณ oligosaccharides ลง และยังช่วยให้ถั่วสุกไวขึ้นอีกด้วย แต่อย่าลืมล้างก่อนนำไปประกอบอาหารนะคะ

  1. Cumin และ Kombu ช่วยได้

ผัดถั่วหรือต้มไปกับยี่หร่าก็ช่วยได้มาก หรือ อาจต้มถั่วไปกับสาหร่าย Kombu ทั้งสองวิธีนี้เป็นที่นิยมใช้อย่างมากในครัวเรือนของชาว middle east และชาวญี่ปุ่น  และทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีในการทำให้การทานถั่วยังได้ประโยชน์ อร่อย และไม่สร้างความทรมานให้ท้องคุณ แต่ถ้าใครยังพบปัญหาอยู่และก็ต้องการโปรตีนจากพืช ก็สามารถมองหาโปรตีนที่ย่อยง่ายและโปรตีนสูงอย่าง Pealicious Pea protein ที่ผ่านการแยกคาร์บ และ fat ออกเหลือไว้เพียงโปรตีนล้วนๆ ด้วยวิธีตามสิทธิบัตร  และที่สำคัญต้องมั่นใจว่าโปรตีนพืชที่ได้นั้นไม่ผ่านการใช้ Hexane ในการกระบวนการผลิต 


Comments


Recent Posts
Archive
bottom of page